ในฐานะผู้บริหาร การบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพเป็นหนึ่งในทักษะที่สำคัญที่สุดที่ต้องมีในโลกธุรกิจปัจจุบัน การมีทีมที่แข็งแกร่ง ย่อมหมายถึงความสามารถในการสร้างสรรค์ พัฒนา และแข่งขันในตลาดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา แต่สำหรับหลายๆ คน การบริหารทีมอาจเป็นสิ่งที่รู้สึกว่า "ยังทำได้ไม่เต็มที่" หรือ "ยังไม่สมบูรณ์แบบ"
การรับรู้ว่ามีส่วนไหนในทักษะการบริหารที่ต้องพัฒนาเพิ่มเติม ถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการพัฒนาทั้งตัวเราและบริษัท วันนี้ผมจะขออนุญาตแชร์แนวทางและวิธีการที่จะช่วยให้ผู้บริหารสามารถพัฒนาการบริหารทีมได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเอากรอบมาจากหนังสือ Work Rules ของGoogle ผ่านมุมมองของบริษัท Q Hunter recruitment agency ที่ทำงานใกล้ชิดกับทั้งผู้บริหารและทีมผู้จัดการในหลายอุตสาหกรรม
1. การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ (Effective Communication)
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการบริหารทีมอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้บริหารที่สามารถสื่อสารอย่างชัดเจน เปิดกว้าง และโปร่งใส
จะได้รับความไว้วางใจจากทีมงาน สิ่งที่ผู้บริหารควรโฟกัสคือ:
- สื่อสารเป้าหมายอย่างชัดเจน: ทีมต้องเข้าใจเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของบริษัทอย่างชัดเจน การมีเป้าหมายร่วมกันจะช่วยให้ทุกคนเคลื่อนไปในทิศทางเดียวกัน ถ้าทีมยังไม่เข้าใจว่าผลลัพธ์ที่อยากได้ของเราคืออะไรการเกิดประสิทธิภาพในทีมจะยากขึ้นทันทีครับ
- รับฟังอย่างตั้งใจ: การรับฟังความคิดเห็นหรือปัญหาของพนักงานจะช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีและทำให้ทีมรู้สึกว่าพวกเขามีความสำคัญ อย่าลืมเราไม่ใช่แค่ฟังแต่ต้องให้คนรู้สึกว่าเรากำลังฟัง
- ให้ฟีดแบ็คอย่างสร้างสรรค์: ฟีดแบ็คที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา แต่ยังคงมีความเคารพ จะช่วยพัฒนาศักยภาพของทีมได้ดีขึ้น หรือใช้กรณีที่เรียกว่า feed forward การให้คำแนะนำต่อในสิ่งที่ได้บอก รวมถึงการพูดสิ่งที่จำเป็นต้องพูดแบบไม่ใช้อารมณ์
2. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี (Building a Positive Organizational Culture)
ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จมักจะให้ความสำคัญกับการสร้างวัฒนธรรมที่สนับสนุนให้พนักงานมีความคิดสร้างสรรค์ และกล้าที่จะลองผิดลองถูก การทำเช่นนี้จะทำให้ทีมรู้สึกปลอดภัยในการแสดงความคิดเห็น และทำให้ทีมรู้สึกมีคุณค่าในองค์กร
- ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม: การสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างทีมงานจะช่วยให้เกิดการทำงานร่วมกันที่ราบรื่น
ทีมจะทำงานร่วมกันได้ดีถ้าแต่ละคนรู้จักเบื้องหลังหรือวิธีคิดรวมถึงสไตร์ของกันและกัน
- การส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนา: สร้างบรรยากาศที่เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้จากความผิดพลาด และเสริมทักษะใหม่ๆ อย่างต่อเนื่อง
ตัวผู้บริหารเองต้องทำให้เห็นว่าการเรียนรู้ที่แม้แต่ตัวผู้บริหารเองก็ลงมาพัฒนาตัวเอง รวมไปถึงการทำให้ทีมเห็นว่าความผิดพลาดเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เพราะเรากล้ายอมรับความผิดพลาดดีกว่าไม่ผิดพลาดเพราะไม่กล้าลองเสี่ยง
- สร้างพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น: การมีช่องทางหรือพื้นที่ให้พนักงานสามารถพูดคุยหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันได้อย่างอิสระจะช่วยให้เกิดการพัฒนาองค์กรที่ยั่งยืน เช่น เวลาที่ผู้บริหารเปิดประตูทิ้งไว้เป็นสัญญาณให้ทีมรู้ว่าสามารถเข้ามาปรึกษาได้ หรือแม้กระทั่งตารางCalendarให้ทีมดูช่วงเวลาที่เหมาะสม
3. การตัดสินใจที่เด็ดขาดและรอบคอบ (Decisive and Thoughtful Decision-Making)
หนึ่งในคุณสมบัติที่ทำให้ผู้บริหารมีความน่าเชื่อถือคือการตัดสินใจที่ชัดเจนและถูกต้อง การตัดสินใจอย่างรวดเร็วอาจเป็นสิ่งสำคัญในบางสถานการณ์ แต่ก็ต้องอยู่บนพื้นฐานของข้อมูลและการวิเคราะห์ที่รอบคอบ
- วิเคราะห์ข้อมูลก่อนการตัดสินใจ: ข้อมูลในระดับที่เพียงพอไม่ใช้ข้อมูลครบ 100% สำหรับผู้บริหารต้องบอกตัวเองได้ว่าระดับไหนที่เรียกว่าเพียงพอต่อการตัดสินใจคนทำงานจะทำงานกับเราได้ง่ายขึ้น
- กล้าที่จะตัดสินใจแม้ในสถานการณ์ที่ยากลำบาก: การตัดสินใจที่ยากบางครั้งอาจเป็นการปรับทิศทางที่จำเป็นสำหรับความสำเร็จในระยะยาว อาจจะทำให้ทีมหลายคนไม่พอใจแต่ถ้าเรื่องนั้นเป็นประโยชน์กับภาพรวมบริษัทวันนึงคนจะเข้าใจได้
- เรียนรู้จากการตัดสินใจในอดีต: การย้อนดูการตัดสินใจที่ผ่านมา และพิจารณาว่ามีจุดไหนที่สามารถปรับปรุงได้ จะทำให้การตัดสินใจในอนาคตมีประสิทธิภาพมากขึ้น
4. การเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ (Inspiring Leadership)
ผู้บริหารที่มีความสามารถในการสร้างแรงบันดาลใจ จะสามารถทำให้ทีมของพวกเขารู้สึกถึงความมุ่งมั่น และพร้อมที่จะทำงานให้เต็มที่ การเป็นผู้นำที่ดีไม่ได้แค่สั่งการเท่านั้น
แต่ยังเป็นคนที่คอยสร้างพลังบวกและแรงผลักดันให้กับทีมอีกด้วย
- เป็นตัวอย่างที่ดี: พนักงานจะมองหาผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบและเป็นตัวอย่างที่ดีในด้านการทำงาน เราอยากให้ทีมเป็นแบบไหนทำให้ดูมากกว่าบอกให้ทำ
- สร้างความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับทีม: การมีความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้บริหารและทีมงานจะช่วยให้เกิดความไว้วางใจและเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
- ส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์และการให้คำแนะนำ: การเปิดโอกาสให้ทีมแสดงความคิดสร้างสรรค์และแนะนำการทำงาน จะช่วยให้เกิดการพัฒนาในทีมและองค์กรโดยรวม โดยต้องไม่ลืมว่าการให้ทีมกล้าคิดและแนะนำนั้นจะเกิดขึ้นได้ต้องมาจากการที่ผู้บริหารทำให้ทีมรู้ว่าสามารถทำได้ผ่านการรับฟังและติดตาม
5. การจัดการและพัฒนาเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ (Effective Time Management)
การบริหารเวลาเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญในการบริหารทีมที่ดี ผู้บริหารที่สามารถจัดสรรเวลาให้กับการพัฒนาทีม
ควบคู่ไปกับการทำงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย จะช่วยให้เกิดความสมดุลในการทำงาน
- จัดลำดับความสำคัญของงาน: ผู้บริหารควรตรวจสอบว่างานใดเป็นงานสำคัญที่สุด และการติดตามงานที่เหมาะสมเพื่อให้ผู้ทำรู้ว่าโฟกัสที่อะไร ผู้ติดตามรู้ว่าควรติดตามเมื่อไรและเรื่องไหน จะทำให้การทำงานร่วมกันไหลลื่นไม่ดราม่าเข้าใจผิดเรื่องเล็กๆน้อยได้
- แบ่งเวลาให้กับทีม: การให้เวลาในการประชุมและพูดคุยกับทีมเป็นเรื่องสำคัญที่ผู้บริหารต้องไม่ละเลย
- หลีกเลี่ยงการทำงานเกินเวลาโดยไม่จำเป็น: การบริหารเวลาที่ดีจะช่วยลดภาระงานที่เกินความจำเป็น และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
ส่วนไหนที่ผู้บริหารเห็นแล้วว่าไม่จำเป็นหรือควรลดสามารถเป็นคนเริ่มเสนอหรือสอบถามทีมได้เลย
6. การให้ความสำคัญกับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (Continuous Development)
สุดท้ายแล้ว การเป็นผู้บริหารที่ดีคือการไม่หยุดพัฒนาตัวเองและทีม ผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จจะเปิดโอกาสให้พนักงานได้รับการฝึกอบรม พัฒนาทักษะใหม่ และได้รับการส่งเสริมให้เติบโตไปพร้อมกับองค์กร
- มอบโอกาสในการเรียนรู้ให้กับพนักงาน: การส่งเสริมให้พนักงานเข้ารับการอบรมหรือได้รับการพัฒนาทักษะจะทำให้พวกเขามีความพร้อมในการรับมือกับความท้าทายใหม่ๆ โดยอาจจะต้องให้ทีมเห็นความสำคัญของทักษะใหม่ที่จำเป็นที่อยากให้พัฒนาก่อนส่งไปพัฒนา เราอาจจะได้ทีมที่อยากพัฒนาด้วยตัวเอง
- ประเมินผลและปรับปรุงกระบวนการทำงาน: การประเมินการทำงานของทีมและปรับปรุงกระบวนการทำงานอย่างสม่ำเสมอจะช่วยให้ทีมสามารถเติบโตและพัฒนาได้ต่อเนื่องและกรอบการประเมินต้องมีประสิทธิภาพและให้ความรู้สึกยุติธรรมมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้
- เรียนรู้จากผู้นำอื่นๆ: ผู้บริหารควรหมั่นเรียนรู้จากผู้บริหารที่ประสบความสำเร็จในองค์กรอื่นๆ เพื่อพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากการหาที่ปรึกษา เพื่อนต่างอุตสาหกรรม
สรุป
การพัฒนาทักษะการบริหารทีมไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่เป็นไปไม่ได้ ผู้บริหารที่พร้อมเปิดใจและหมั่นปรับปรุงตนเองจะสามารถสร้างทีมที่มีประสิทธิภาพและทำให้องค์กรเติบโตได้อย่างยั่งยืน การบริหารทีมที่ดีไม่ใช่แค่การสั่งการเท่านั้น แต่ยังต้องมาจากการสื่อสาร การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่ดี การตัดสินใจที่รอบคอบ และการเป็นผู้นำที่สร้างแรงบันดาลใจ
หากผู้บริหารรู้สึกว่ามีจุดไหนที่ยังต้องพัฒนา ขอเพียงแค่เริ่มต้นทำทีละนิดก็จะสามารถปรับปรุงให้การบริหารทีมมีประสิทธิภาพมากขึ้นได้
บทความโดย กิตติเชษฐ์ ชื่นชุ่ม COO Q Hunter recruitment
Q Hunter - Matching the right people at the first time
บริษัทจัดหางานที่มีตำแหน่งงานดีๆ รอคุณอยู่ ฝาก Resume ไว้ได้เลยที่ Apply here
สนใจบริการสรรหาพนักงานสามารถติดต่อได้ที่ Contact Us