ESG เกี่ยวข้องกับ HR อย่างไร? ทำไมอะไรในยุคนี้ต้องเกี่ยวข้องกับ ESG ไปเสียหมด วันนี้ Q Hunter จะพาไปดูว่า ESG สำคัญกับงานบริหารทรัพยากรบุคคล (Human Resource) อย่างไรบ้าง และมีประเด็นอะไรที่ HR ต้องให้ความสำคัญ หากต้องการพัฒนาองค์กรให้ยั่งยืน
ESG คืออะไร?
ESG เป็นแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาขององค์กรอย่างยั่งยืน ย่อมาจาก E=Environment, S=Social, และ G=Governance ปัจจุบัน ESG ได้รับความนิยมจากนักลงทุนทั่วโลก เนื่องจากเป็นแนวคิดที่ใช้ประกอบการพิจารณาลงทุน โดยจะดูว่าองค์กรให้ความสำคัญกับการทำธุรกิจ ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลักนี้อย่างไรบ้าง โดยจะพิจารณาจากหลังเกณฑ์ดังนี้
- เกณฑ์ด้านสิ่งแวดล้อม (Environmental Criteria) พิจารณาผลกระทบของบริษัทต่อโลก มีการใช้พลังงาน การปล่อยคาร์บอน หรือรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างไรบ้าง
- เกณฑ์ทางสังคม (Social Criteria) เกณฑ์นี้จะเกี่ยวข้องกับการทำงานของฝ่าย HR โดยตรง พิจารณาจากการตรวจสอบการบริหารจัดการคนในองค์กร ความสัมพันธ์ระหว่างพนักงาน คู่ค้า ลูกค้า และผู้คนที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกิจ
- บรรษัทภิบาล (Governance Criteria) กำกับดูแลเกี่ยวกับความเป็นผู้นำขององค์กร การจ่ายค่าตอบแทนให้ผู้บริหาร การตรวจสอบการควบคุมภายใน (audits) และสิทธิ์ของผู้ถือหุ้น (shareholder rights) ว่ามีความโปร่งใส ตรวจสอบได้ และคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียหรือไม่
ESG เกี่ยวข้องกับ HR อย่างไร?
หลายคนอาจจะมองว่า ESG โฟกัสแค่เรื่องสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืนด้านพลังงานหรือเปล่า? แต่จริงๆ แล้ว ESG เกี่ยวข้องกับ ‘คน’ ในองค์กรโดยตรง ซึ่งถ้าองค์กรบริหารจัดการคนได้ไม่ดี ก็ไม่มีทางที่องค์กรนี้จะอยู่ได้อย่างยั่งยืนด้วยเช่นกัน
เพราะตัว S หรือ Social เกี่ยวข้องกับงาน HR โดยตรง ซึ่งในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ทำให้เห็นว่าวิกฤตินี้ส่งผลกระทบต่อผู้คนและการจ้างงานอย่างมากที่สุด และทำให้เห็นปัญหาชัดขึ้นในหลายประเด็น หลายส่วนก็หวังว่า หลายองค์กรควรจะทำในสิ่งที่ถูกต้องและมีนโยบายที่ให้ความสำคัญกับ ‘คน’ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ทางสังคม (Social Criteria) มากขึ้นอย่างจริงจังสักที
ตัวอย่างประเด็นที่ HR ต้องให้ความสำคัญ
1. ประเด็นความหลากหลายและความเท่าเทียม (Diversity/Equality) ได้แก่ Gender parity (ความเท่าเทียมกันทางเพศ), Ethnicity (เชื้อชาติ), Age (อายุ), Disability (คนพิการ), LGBT (ความหลากลายทางเพศ), Social mobility (การขับเคลื่อนสังคม), Neurodiversity (ความหลากหลายทางระบบประสาท) ฯลฯ
2. ปัญหา/ความปิดปกติในที่ทำงาน ได้แก่ การกลั่นแกล้ง/คุกคาม (Bullying/harassment), การร้องทุกข์ (Grievances/disciplinaries), คดีการจ้างงาน (Employment litigation) ฯลฯ
3. การสรรหาและการดูแลพนักงาน Recruitment and Retention ได้แก่ การทำงานร่วมกันของคนหลากหลายช่วงวัย (Multigenerational workforce), ประชากรสูงวัย Ageing population, การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี Automation/technology/AI ฯลฯ
4. สุขภาพจิตและความเป็นอยู่ (Mental Health and Wellbeing)
ความสุขในการทำงาน (Happiness), การขาดงาน (Absenteeism), ความเจ็บป่วย (Sickness), ความพิการแฝง (Hidden disabilities) ฯลฯ
5. ค่าแรง (Pay) ได้แก่ ความเท่าเทียมในการจ่ายค่าแรง (Gender pay gap), ค่าแรงของผู้บริหาร (CEO pay), ค่าแรงขั้นต่ำ (Minimum wage)
6. Work-life Balance (ความสมดุลในชีวิตการทำงาน) ได้แก่ วันลา/ลาคลอด (Family-friendly/parental leave), การดูแลพนักงาน/ครอบครัวพนักงาน
7. สถานะการจ้างงานฟรีแลนซ์ (Gig/Freelancers)
จากตัวอย่าง 7 ข้อข้างต้น ในทุกองค์กรอาจจะไม่ได้ได้มีครบทุกข้อ แต่ทั้งหมดนี้เป็นเพียงตัวอย่างประเด็นที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญ การจะทำให้องค์กรเป็นไปตามเกณฑ์ ESG ได้นั้น จึงควรมีการออกกฏ กำหนดนโยบาย และมีเป้าหมายอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อให้คำว่า ESG ไม่ใช่แค่การขายฝันให้นักลงทุนเท่านั้น แต่ยังเป็นสิ่งที่ช่วยรักษาพนักงานผู้ทรงคุณค่าเอาไว้ และช่วยดึงดูดคนที่มีทักษะให้อยากเข้ามาร่วมงานกับองค์กรของเราได้อีกด้วย
Source:
squirepattonboggs | www.squirepattonboggs.com
________________________________________
Q Hunter - บริษัทจัดหางาน
ตำแหน่งงานดีๆ รอคุณอยู่ ฝาก Resume ไว้ได้เลยที่ www.qhunter.co.th
Q Hunter - Matching the right people at the first time
บริษัทจัดหางานที่มีตำแหน่งงานดีๆ รอคุณอยู่ ฝาก Resume ไว้ได้เลยที่ Apply here
สนใจบริการสรรหาพนักงานสามารถติดต่อได้ที่ Contact Us