ปัจจุบัน เทคโนโลยีมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตและการทำงานอย่างมาก ทำให้อาชีพต่างๆ มีการเปลี่ยนแปลง เราจะสังเกตได้ว่ายุคนี้มีอาชีพใหม่ๆ เกิดขึ้นมาเยอะมาก และหลายอาชีพก็ค่อยๆ หายไป ดังนั้นผู้ที่กำลังมองหางานใหม่หรืออยากเปลี่ยนอาชีพให้ตามทันเทรนด์ปี 2024 ต้องพัฒนาตัวเองเพื่อเพิ่มทักษะใดบ้าง ให้ตรงกับตำแหน่งงานสุดปังในยุคนี้
“บริษัทจัดหางาน” Q Hunter ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาและจัดหางาน และเป็น “Recruitment Agency Thailand” จึงขอนําเสนออาชีพที่น่าจับตามองในปี 2024 และโอกาสงานในอนาคต เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่สนใจพัฒนาทักษะของตัวเองในปีนี้กันค่ะ
1. Cyber Security
ทำหน้าที่วิเคราะห์และประเมินความเสี่ยง ภัยคุกคามทางไซเบอร์ต่อองค์กร ออกแบบและพัฒนาระบบรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ ตรวจจับการโจมตีหรือการเข้าถึงระบบโดยไม่ได้รับอนุญาต ตอบโต้และจัดการภัยคุกคามทางไซเบอร์ รวมถึงกู้คืนระบบที่ถูกโจมตี โดยผู้ที่ทำอาชีพนี้ต้องมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงเข้าใจด้านความปลอดภัยของข้อมูลและเทคโนโลยีเป็นอย่างดี
Cyber Security ควรมีความรู้และทักษะติดตัว ได้แก่ ความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและคอมพิวเตอร์ เข้าใจในกลยุทธ์และเทคนิคของผู้ประสงค์ร้ายทางไซเบอร์ สามารถประเมินความเสี่ยงด้านความปลอดภัยของข้อมูล มีทักษะการฟื้นฟูระบบเทคโนโลยีให้กลับมาทํางานได้ตามปกติ และสามารถจัดการและตอบโต้ภัยคุกคามทางไซเบอร์ได้อย่างทันท่วงที
ในยุคดิจิทัลนี้ องค์กรต่างๆ ล้วนพึ่งพาเทคโนโลยีและระบบออนไลน์กันสูงมาก แต่ในขณะเดียวกัน ภัยคุกคามทางไซเบอร์ เช่น การแฮกข้อมูล หรือโจมตีด้วยไวรัสต่างๆ ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ดังนั้นความต้องการผู้เชี่ยวชาญด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์จึงเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก
2. Social Enterprise Manager
องค์กรธุรกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) คือ กิจการหรือองค์กรธุรกิจที่ดำเนินการผสมผสานระหว่างวัตถุประสงค์เชิงสังคมและผลกำไร โดย Social Enterprise Manager จะบริหารจัดการองค์กรให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างผลกำไรและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ และในขณะเดียวกันก็บรรลุเป้าหมายการทำเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมที่วางไว้ด้วย ซึ่งสอดคล้องกับหลักการของ ESG
ESG คืออะไร
ESG ย่อมาจาก Environmental, Social และ Governance เป็นกรอบการดำเนินงานสำหรับองค์กรธุรกิจ โดยพิจารณาถึงปัจจัย 3 ด้านหลัก ได้แก่
- Environmental หรือ สิ่งแวดล้อม : ดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ลดการปล่อยคาร์บอน ลดขยะ ลดมลภาวะ เป็นต้น
- Social หรือ สังคม : มีความรับผิดชอบต่อสังคม เช่น การดูแลพนักงาน ชุมชน ผู้บริโภคอย่างเป็นธรรม
- Governance หรือ ธรรมาภิบาล : บริหารองค์กรด้วยความโปร่งใส ตรวจสอบได้
Social Enterprise Manager เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์ เป้าหมายทางธุรกิจ และเป้าหมายเพื่อสังคมขององค์กรให้สอดคล้องกัน บริหารจัดการทรัพยากร ทั้งด้านบุคลากร การเงิน และงบประมาณ ให้ดำเนินงานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมถึงกำกับดูแลโครงการต่างๆ ให้เป็นไปตามแผน โดยให้ความสำคัญกับทั้งผลลัพธ์ทางธุรกิจและผลกระทบเชิงบวกต่อสังคม
ทักษะที่ Social Enterprise Manager ควรมีคือ มีความเข้าใจในแนวคิดและหลักการของการประกอบธุรกิจเพื่อสังคม เข้าใจความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ตลาด และสามารถกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดได้ มีทักษะการบริหารคน และบริหารทีม
Social Enterprise Manager เป็นอาชีพที่น่าสนใจ เพราะธุรกิจเพื่อสังคมเติบโตอย่างก้าวกระโดด เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ภาคเอกชน และผู้บริโภคที่ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน และธุรกิจเพื่อสังคมกำลังขาดแคลนบุคลากรที่มีทักษะและความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ จึงเป็นอาชีพที่สามารถบริหารจัดการได้ทั้งองค์กรขนาดเล็กและองค์กรข้ามชาติ
3. นักพัฒนาเทคโนโลยีบล็อกเชน (Blockchain Developer)
อาชีพนี้มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ พัฒนา และบริหารจัดการระบบงานต่างๆ บนเทคโนโลยีบล็อกเชน สามารถวิเคราะห์และออกแบบโครงสร้างสำหรับระบบงานบนบล็อกเชน ตลอดจนสามารถเขียนโปรแกรมและติดตั้งระบบงานบนเทคโนโลยีบล็อกเชนได้เป็นอย่างดี
ทักษะที่ Blockchain Developer ควรมี ได้แก่ มีความเข้าใจในหลักการทำงานของเทคโนโลยีบล็อกเชนและ Decentralized Systems สามารถเขียนโปรแกรม เช่น JavaScript, Solidity, Java, Python รวมถึงการใช้งานฐานข้อมูลต่างๆ เช่น MongoDB, Cassandra, LevelDB เป็นต้น
Blockchain Developer กำลังได้รับความสนใจและนำมาประยุกต์ใช้ในหลายอุตสาหกรรม ตลาดแรงงานก็ต้องการบุคลากรที่มีทักษะด้านนี้เป็นจำนวนมาก นักพัฒนาบล็อกเชนจึงมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนสูงถึงเดือนละแสนบาทขึ้นไปเลยทีเดียว
4. นักวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analyst)
เป็นผู้ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์และแปลความหมายข้อมูล ด้วยวิธีการและเครื่องมือทางสถิติและคณิตศาสตร์ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจทางธุรกิจหรือการดําเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กร
Data Analyst ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลดิบ (Raw Data) จากแหล่งต่างๆ เช่น ฐานข้อมูลลูกค้า เว็บไซต์ ตลาดหลักทรัพย์ สื่อสังคมออนไลน์ ฯลฯ นำข้อมูลมาตรวจสอบพร้อมนำไปวิเคราะห์โดยใช้เครื่องมือ เช่น Excel, SQL หาความสัมพันธ์ ความเชื่องโยงต่างๆ และแปลผลสรุปความหมายของข้อมูลที่ได้ เพื่อแปรผลเป็นสารสนเทศที่ดูเข้าใจง่ายเสนอต่อผู้บริหารหรือผู้เกี่ยวข้อง
ทักษะที่ Data Analyst ควรมี ได้แก่ ความเข้าใจพื้นฐานทางสถิติและคณิตศาสตร์ เช่น สถิติเชิงพรรณนา สถิติอนุมาน สามารถใช้โปรแกรมภาษาในการวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Python, R, SQL และใช้เครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูล เช่น Tableau, Excel ตลอดจนมีความเข้าใจในการดําเนินงานด้านต่างๆ ขององค์กรนั้นๆ
Data Analyst เป็นอาชีพที่น่าสนใจ เนื่องด้วยว่าปริมาณข้อมูลที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ทําให้องค์กรต้องการบุคลากรที่สามารถจัดการและแปลความหมายข้อมูลเหล่านั้นให้เป็นประโยชน์ต่อธุรกิจ อีกทั้งเทคโนโลยีและเครื่องมือวิเคราะห์ข้อมูลมีพัฒนาการที่ดีขึ้น ทำให้สามารถประมวลผลข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและถูกต้องแม่นยำ จึงมีความต้องการบุคลากรที่มีทักษะเหล่านี้เพิ่มขึ้น และหลายองค์กรให้ความสำคัญกับการตัดสินใจทางธุรกิจบนพื้นฐานของข้อมูลและสารสนเทศ
5. AI Machine Learning Specialist
เป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้าน AI วิเคราะห์ปัญหาทางธุรกิจเพื่อกำหนดโจทย์และความต้องการในการสร้างโมเดล AI สามารถออกแบบโครงสร้าง พัฒนาและเทรน AI โดยใช้ชุดข้อมูลจำนวนมาก มาทดสอบและปรับแต่งให้แม่นยำ เพื่อให้เกิดการทํางานจริงได้
ทักษะที่ AI Machine Learning Specialist ควรมี คือ มีความเข้าใจหลักการทำงานของ AI, Machine Learning, Deep Learning สามารถเขียนโปรแกรม Python, R, Java เพื่อสร้างโมเดล AI และมีประสบการณ์การใช้ Library และ Framework ด้าน Machine Learning เช่น TensorFlow, PyTorch รวมถึงมีความรู้ด้านสถิติ คณิตศาสตร์ วิทยาการข้อมูล เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับ AI อีกด้วย
AI Machine Learning Specialist เป็นอีกอาชีพที่น่าจับตามองในยุคที่ AI เข้ามามีบทบาทในการทำงานของมนุษย์ ซึ่ง AI ได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นในการนำมาประยุกต์ใช้ในธุรกิจต่างๆ ทำให้ความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้านนี้เพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว เนื่องจากความซับซ้อนของเทคโนโลยี ดังนั้นอาชีพด้านนี้จึงมีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง และมีแนวโน้มเป็นอาชีพที่ขาดแคลน อีกทั้งมีความต้องการสูงในอนาคตอันใกล้
6. Website and App Designer/Developer
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์และแอปพลิเคชันต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ สวยงาม มีประโยชน์ และตรงกับความต้องการของผู้ใช้งาน
Website and App Designer/Developer ทำหน้าที่ศึกษาและวิเคราะห์ความต้องการของลูกค้าและผู้ใช้งาน ออกแบบ User Interface/User Experience (UI/UX) ให้ง่ายต่อการใช้งานและตรงตามวัตถุประสงค์ และเขียนโปรแกรมติดตั้งระบบต่างๆ ด้วยภาษา เช่น HTML, CSS, JavaScript บน frontend และ backend แล้วทดสอบและปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ จนใช้งานได้อย่างถูกต้องและสมบูรณ์
ทักษะที่ Website and App Designer/Developer ควรมี ได้แก่ ความเข้าใจพื้นฐานการออกแบบ UI/UX ที่ดี มีทักษะการเขียนโปรแกรม Web Application เช่น JavaScript, PHP เข้าใจการทำงานของ Database และ Web server และมีประสบการณ์ใช้งาน Framework สําหรับการพัฒนา เช่น Angular, React รวมถึงมีทักษะในการออกแบบติดตั้งระบบ, การจัดการ Server, Troubleshooting และ Debugging
เนื่องด้วยธุรกิจและแพลตฟอร์มบริการต่างๆ กำลังมีการพัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น มีความต้องการเว็บไซต์และแอปพลิเคชันที่มีประสิทธิภาพและตรงตามความต้องการผู้ใช้มีเพิ่มสูงขึ้น อีกทั้งเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น AI, IoT, Blockchain เป็นต้น กำลังได้รับความนิยมนำมาประยุกต์ใช้กับเว็บแอป ทำให้ Website and App Designer/Developer มีแนวโน้มเติบโตและมีความต้องการสูงอย่างต่อเนื่อง
7. Digital Transition Consultant
เป็นผู้ที่ให้คําปรึกษาและคำแนะนำแก่องค์กรต่างๆ ในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินธุรกิจ เพื่อยกระดับให้องค์กรก้าวสู่ความเป็นดิจิทัลอย่างสมบูรณ์
หน้าที่หลักของ Digital Transition Consultant คือ วิเคราะห์ธุรกิจและความพร้อมในการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัล และเสนอกลยุทธ์ วิธีการ เทคโนโลยีที่เหมาะสม รวมถึงออกแบบระบบงานหลักขององค์กรให้รองรับธุรกิจดิจิทัล ตลอดจนช่วยฝึกอบรมและให้คำแนะนำพนักงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการเปลี่ยนผ่าน
ทักษะที่ Digital Transition Consultant ควรมีคือ มีความเข้าใจพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Cloud Computing, Big Data, IoTมีความรู้ความเข้าใจในกลยุทธ์ การวางแผน และการจัดการองค์กร สามารถวิเคราะห์ธุรกิจ ระบบงานต่างๆ เพื่อหาโอกาสพัฒนาต่อ และสามารถให้คำปรึกษา แนะนํา ฝึกอบรม พัฒนาบุคลากรในองค์กรได้
Digital Transition Consultant เป็นอาชีพที่น่าจับตามอง เพราะธุรกิจและองค์กรต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล ทำให้ต้องการที่ปรึกษาเร่งด่วน และการเปลี่ยนผ่านเป็นเรื่องที่มีความซับซ้อน จําเป็นต้องอาศัยความเชี่ยวชาญ ทำให้มีโอกาสได้รับผลตอบแทนสูง ตามความชำนาญและประสบการณ์
8. Digital Marketing Expert
ผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการใช้สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีสมัยใหม่ต่างๆ เพื่อวางแผนและบริหารจัดการการตลาดออนไลน์ของธุรกิจ เช่น เว็บไซต์, สื่อสังคม, YouTube ฯลฯ
Digital Marketing Expert มีหน้าที่ศึกษาวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค เพื่อกำหนดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ วางแผนและบริหารจัดการการทําการตลาดผ่านช่องทางดิจิทัล ผลิตสื่อโฆษณา คอนเทนต์ต่างๆ เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์แบรนด์และผลิตภัณฑ์ติดตามประเมินผล และจัดทำรายงานผลการดําเนินงานด้านการตลาด เพื่อใช้วางแผนและตัดสินใจในอนาคต
ทักษะที่ Digital Marketing Expert ควรมีคือ เข้าใจในหลักการตลาด และพฤติกรรมผู้บริโภคในยุคดิจิทัล วิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก เพื่อใช้กําหนดกลยุทธ์และตัดสินใจ สามารถใช้สื่อสังคมออนไลน์ เช่น การทํา SEO, การทำโฆษณา, การทำ Email Marketing รวมถึงมีทักษะด้านการออกแบบสื่อ คอนเทนต์ และการทำ Storytelling
เนื่องด้วยการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ทำให้พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน Digital Marketing Expert จึงมีความสำคัญ เพราะองค์กรต่างๆ ต้องเร่งปรับตัว ต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน ทำให้ Digital Marketing Expert เป็นอาชีพที่มีแนวโน้มสดใสและมีความต้องการสูงขึ้น
9. UX Designer
เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้งานกับผลิตภัณฑ์หรือบริการต่างๆ โดยมุ่งเน้นให้การตอบสนองความต้องการของผู้ใช้และการสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ใช้งาน
หน้าที่หลักของ UX Designer ได้แก่ วิเคราะห์ User Behavior เพื่อเข้าใจ Insight ของผู้ใช้งาน ออกแบบ User Flow หรือขั้นตอนการใช้งานผลิตภัณฑ์หรือบริการ รวมถึง Wireframe และ Prototype เพื่อนำเสนอต้นแบบของ UX จากนั้นทดสอบ UX กับผู้ใช้จริง เก็บข้อมูล เพื่อวิเคราะห์และปรับปรุง
ทักษะที่ UX Designer ควรมี ได้แก่ มีความเข้าใจพฤติกรรมผู้ใช้ (User Behavior) ทักษะการวิจัย การสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์เชิงลึก (Insight) มีทักษะการออกแบบ Wireframe, Flowchart, Prototype และเข้าใจหลักการออกแบบที่ตอบโจทย์ผู้ใช้ (Human-centered Design)
UX Designer เป็นอาชีพที่น่าจับตามองในปี 2024 เพราะเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มีให้เลือกใช้มากขึ้น ทำให้ต้องออกแบบประสบการณ์ผู้ใช้ให้โดดเด่นและตอบโจทย์ และผู้บริโภคให้ความสําคัญกับประสบการณ์การใช้งานมากขึ้น การออกแบบ UX ที่ดีจึงเป็นกลยุทธ์ทางการตลาดที่สําคัญ อีกทั้งอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น การเงิน การธนาคาร เทคโนโลยี กําลังมีการพัฒนาไปสู่ดิจิทัลอย่างรวดเร็ว ความต้องการ UX Designer จึงสูงขึ้น และมีโอกาสได้รับค่าตอบแทนสูง เฉลี่ย 50,000 บาทขึ้นไป ตามประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน
หวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการพัฒนาตัวเอง และต้องการเสริมทักษะใหม่ๆ ให้เป็นที่ต้องการของตลาดนะคะ “บริษัทจัดหางาน” Q Hunter ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการสรรหาพนักงานและจัดหางาน และเป็น “Recruitment Agency Thailand” เราพร้อมที่จะเป็นที่ปรึกษาอาชีพและนําเสนออาชีพใหม่ๆ ที่มีแนวโน้มสดใสและตอบโจทย์แก่พนักงานที่ต้องการเปลี่ยนงานหรือเริ่มต้นอาชีพใหม่ เพื่อก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและตลาดแรงงานในอนาคตค่ะ
Q Hunter - Matching the right people at the first time
บริษัทจัดหางานที่มีตำแหน่งงานดีๆ รอคุณอยู่ ฝาก Resume ไว้ได้เลยที่ Apply here
สนใจบริการสรรหาพนักงานสามารถติดต่อได้ที่ Contact Us