
Hiring Manager เคยคิดไหมว่าการสรรหาคนที่ไม่พอดีกับความต้องการ กำลังทำให้บริษัทเสียเงินและเวลาไปโดยไม่จำเป็น?
การจ้างผิด (Bad Hire) ส่งผลเสียต่อองค์กรมากกว่าที่คิด! ทั้งต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ผลกระทบต่อทีม และความเสียหายต่อวัฒนธรรมองค์กร
สถิติเชิงลึกจากแหล่งข้อมูลระบุถึงผลกระทบของ Bad Hire ตามการวิจัย
- SHRM (Society for Human Resource Management) ระบุว่า 75% ขององค์กรยอมรับว่าการจ้างผิดทำให้ Productivity ลดลงอย่างมาก
- LinkedIn Report 2023 - 1 ใน 5 บริษัท ยอมรับว่า Bad Hire ส่งผลให้ทีมลาออกกันเป็นโดมิโน
- Glassdoor Study บริษัทที่มี Hiring Process ที่ดีขึ้น 10% สามารถลดการลาออกของพนักงานได้ถึง 27%
1. Cost per Hire คืออะไร และทำไมต้องสนใจ?
Cost per Hire (CPH) คือต้นทุนทั้งหมดที่บริษัทใช้เพื่อจ้างพนักงานใหม่หนึ่งคน
-สูตรมาตรฐานของ Cost per Hire (SHRM Model)
.jpg)
ค่าใช้จ่ายที่ต้องรวมเข้าไปมีอะไรบ้าง?
- -ค่าโฆษณาประกาศงาน (Job Ads)
- -ค่าตัว Recruitment Agency
- -ค่าใช้จ่ายทีม HR และ Hiring Manager
- -ค่าทดสอบและคัดเลือก (Assessment & Interviewing Costs)
- -ค่าฝึกอบรมช่วง Onboarding
ตัวอย่างคำนวณ Cost per Hire (CPH) - บริษัท A มีค่าใช้จ่ายในการจ้างงานดังนี้
- -ค่าประกาศงาน: THB 50,000
- -ค่าใช้บริการ Recruitment Agency: THB 150,000
- -ค่าทดสอบและสัมภาษณ์ (รวมเวลาทีมใช้): THB 100,000
- -ค่าฝึกอบรมช่วง Onboarding: THB 50,000
- -จำนวนพนักงานที่จ้างได้: 3 คน

Cost per Hire = 116,667 บาทต่อพนักงานหนึ่งคน
2. ผลกระทบของ Bad Hire ต่อธุรกิจ
ต้นทุนที่ซ่อนอยู่ของการจ้างผิด
-Harvard Business Review (HBR) และ LinkedIn ระบุว่า: Bad Hire หนึ่งคนสามารถทำให้บริษัทเสียเงินถึง 3-5 เท่าของเงินเดือนของเขา
Bad Hire ทำให้เกิดค่าใช้จ่ายแฝงที่หลายบริษัทไม่คำนึงถึง เช่น
-เงินเดือนที่เสียไป → บริษัทจ่ายเงินให้พนักงานที่ทำงานไม่ได้ผลลัพธ์
-ค่าเสียโอกาส (Opportunity Cost) → ลูกค้าหรือโปรเจกต์ได้รับผลกระทบ
-ค่าใช้จ่ายในการสรรหาคนใหม่ → ต้องเริ่มต้น Hiring Process ใหม่
-ผลกระทบต่อขวัญกำลังใจของทีม → Productivity ตกลง
ตัวอย่างคำนวณต้นทุนของ Bad Hire - สมมติว่า บริษัท B จ้าง Sales Manager เงินเดือน 100,000 บาท/เดือน
-ทำงานได้ 6 เดือนก่อนถูกไล่ออก = จ่ายไปแล้ว 600,000 บาท
-Opportunity Cost → เสียดีลลูกค้าสำคัญ คิดเป็น 3,000,000 บาท
-ค่าจ้าง Recruitment Agency เพื่อหาคนใหม่ = 220,000 บาท
-ค่าฝึกอบรมคนใหม่ = 100,000 บาท
รวมต้นทุนของ Bad Hire: 600,000+3,000,000+220,000+100,000= 3,920,000 บาท
Bad Hire ทำให้บริษัทเสียเงิน 3.92 ล้านบาท ภายใน 6 เดือน!
3. คำถามสำคัญก่อนตัดสินใจรับพนักงานใหม่
เราชัดเจนหรือยังว่าจะรับคนมาทำผลลัพธ์อะไร?
-จ้างเพราะ "ต้องมีคนเพิ่ม" หรือ "ต้องการให้คนนี้สร้างผลลัพธ์อะไร"
-ตั้ง Key Metrics หรือ KPI ที่ต้องทำให้สำเร็จใน 3 เดือน / 6 เดือน / 1 ปี
4. คนสัมภาษณ์เข้าใจผลลัพธ์ที่ต้องการไหม?
ทีมสัมภาษณ์รู้ไหมว่า ตำแหน่งนี้ต้องสร้างผลลัพธ์อะไร?
Checklist ที่คนสัมภาษณ์ต้องรู้ก่อนสัมภาษณ์:
-เป้าหมายของตำแหน่งนี้คืออะไร?
-ต้องมีทักษะอะไรถึงจะทำงานนี้ได้ดี?
-ค่านิยมขององค์กรตรงกับผู้สมัครหรือไม่?
5. ช่องทางที่ใช้สรรหาคนเหมาะสมหรือไม่?
ทีมสัมภาษณ์รู้ไหมว่า ตำแหน่งนี้ต้องสร้างผลลัพธ์อะไร?
Checklist ที่คนสัมภาษณ์ต้องรู้ก่อนสัมภาษณ์:
-ช่องทางที่ใช้ดึงดูด Talent ที่เหมาะสมจริงหรือไม่? ตอบโจทย์สำคัญ ณ เวลานั้น เช่นเรื่องเวลา ความหายาก
-ควรใช้ Recruitment Agency ที่เชี่ยวชาญ หรือไม่? Recruiterเข้าใจโจทย์ที่ต้องการแค่ไหน
-Job Ads ของเราชัดเจนพอหรือยัง?
-อย่าลืมหลักการ Build vs Buy แบบไหนตอบโจทย์วันนี้กว่ากัน
6. วิธีลด Cost per Hire และป้องกัน Bad Hire
6.1ตั้งเป้าหมายการจ้างงานให้ชัดเจน
-รับคนมาทำผลลัพธ์ ไม่ใช่แค่เติมตำแหน่ง
-กำหนด KPI ที่ต้องวัดผลในช่วง Probation
6.2ปรับกระบวนการสัมภาษณ์ให้แม่นยำขึ้น
-ใช้ Behavioral Interview และ Caseจริงที่ทำ
-ตรวจสอบ Reference ก่อนจ้าง
6.3วิเคราะห์ช่องทางการสรรหาว่าเหมาะสมหรือไม่
-ใช้ Data ดูว่าพนักงานที่ลาออกเร็วมีลักษณะอะไร
-ปรับกลยุทธ์การจ้างงานให้เหมาะกับตลาด
6.4วางแผน Onboarding ให้มีประสิทธิภาพ
-มี Checklist สำหรับพนักงานใหม่
-ใช้ Buddy System ให้พนักงานที่มีประสบการณ์ช่วยแนะนำงาน
สรุปสำหรับ Hiring Manager
-Cost per Hire สูงไม่ใช่ปัญหา ถ้าจ้างได้คนที่ใช่
-Hiring Manager ต้องมั่นใจว่ารับคนมาทำ "ผลลัพธ์" ไม่ใช่แค่เติมตำแหน่ง
-การเลือกช่องทางสรรหาที่ถูกต้อง = ลดต้นทุน + ได้คนที่ใช่ในเวลาที่เหมาะสม
อยากลด Cost per Hire และจ้างคนที่ Fit กับองค์กรมากขึ้น? ปรึกษา Q Hunter Recruitment พวกเราโฟกัส Right people, Right time, Right culture
บทความโดย กิตติเชษฐ์ ชื่นชุ่ม Kittichet Chuenchoom COO Q Hunter recruitment
Q Hunter - Matching the right people at the first time
บริษัทจัดหางานที่มีตำแหน่งงานดีๆ รอคุณอยู่ ฝาก Resume ไว้ได้เลยที่ Apply here
สนใจบริการสรรหาพนักงานสามารถติดต่อได้ที่ Contact Us